วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิจัย พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี


ชื่อเรื่อง           :  พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

คณะผู้วิจัย       :  กฤตติกา อาสนา  ธน พีรทิตยยา  ภูริวัฒน์  พฤกษชาติ  เอกสิทธิ์ ดวงเกษ 

   และปฐมพงศ์ สายอุดมสมบูรณ์

สังกัด             :  สาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ

ปีที่ทำการวิจัย   :  พ.ศ. 2559

ที่ปรึกษา         :  ผ.ศ.ดร.เสกสรร  สายสีสด

บทคัดย่อ

          การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

          จาการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 66.8 และเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 33.2 มีอายุ 18-25 ปี คิดเป็นร้อยละ 88.8 อายุต่ำกว่า 18 ปี คิดเป็นร้อยละ 5.2 ระดับการศึกษาปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 88.8 ปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 5.8 ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 5,001-7,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 34.2 ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 7,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 23.8 ต่ำกว่า 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.8 กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่พักอาศัยที่บ้านตนเอง คิดเป็นร้อยละ 36.0 หอพักนอกมหาลัย คิดเป็นร้อยละ 35.8

          ปัจจัยที่นักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีใช้เลือกซื้อสินค้าออนไลน์เพราะ ราคาถูก คิดเป็นร้อยละ 57.5 แบรนด์สินค้ามีให้เลือกหลากหลาย คิดเป็นร้อยละ 46.8 ใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้า 2-5 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 47.0 ซื้อสินค้าออนไลน์ นานๆครั้ง คิดเป็นร้อยละ 45.2 เดือนละ  1-2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 24.4 ซื้อสินค้าออนไลน์ 1 ชิ้น/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 44.5 ซื้อสินค้าออนไลน์ครั้งละ 501-1,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 53.0 ต่ำกว่า 500 บาท คิดเป็นร้อยละ 23.2 ซื้อใช้เอง คิดเป็นร้อยละ 95.0 เป็นของขวัญ คิดเป็นร้อยละ 15.5 เพื่อการค้า คิดเป็นร้อยละ 5.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 62.5 ไม่เคยขายสินค้าออนไลน์ และมีกลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37.5 เคยขายสินค้าออนไลน์

การซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทจับต้องได้ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ซื้อเสื้อผ้า คนคิดเป็นร้อยละ 65.8 อัญมณีเครื่องประดับ คิดเป็นร้อยละ 31.0 ของขวัญ/ของชำร่วย คิดเป็นร้อยละ 23.7 หนังสือ คิดเป็นร้อยละ 23.5 อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  คิดเป็นร้อยละ 20.5 เครื่องใช้ไฟฟ้า  คิดเป็นร้อยละ 18.2 อุปกรณ์กีฬา   คิดเป็นร้อยละ 17.7 อาหารสำเร็จรูป  คิดเป็นร้อยละ 14.8 ของเล่น  คิดเป็นร้อยละ 13.2 เฟอร์นิเจอร์  คิดเป็นร้อยละ 9.0 สินค้าออนไลน์ประเภทจับต้องไม่ได้ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ดาวน์โหลดเพลง คิดเป็นร้อยละ 49.8 ซอฟท์แวร์ คิดเป็นร้อยละ 27.0 ภาพยนตร์/วีดีโอและอื่น คิดเป็นร้อยละ 17.0 สินค้าออนไลน์ประเภทบริการของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จองตั๋วเครื่องบิน คิดเป็นร้อยละ 59.5 จองโรงแรม/ท่องเที่ยว คิดเป็นร้อยละ 39.0 บริการด้านการเงิน/ธนาคาร คิดเป็นร้อยละ 22.8 ช่องทางชำระเงินในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ โอนเงินเข้าบัญชี  คิดเป็นร้อยละ 83.0 จ่ายเงินปลายทาง คิดเป็นร้อยละ 25.0  บริการ Internet Banking  คิดเป็นร้อยละ 24.8 บัตรเครดิต คิดเป็นร้อยละ 23.8 Payment Gateway  คิดเป็นร้อยละ 9.8

ความคิดเห็นของระดับความพึงพอใจสาเหตุและวัตถุประสงค์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบว่ามีระดับความพึงพอใจของการซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ได้แก่ สินค้าและบริการมีคุณภาพตามที่ท่านต้องการ โดยมีค่าเฉลี่ย 3.86 เป็นอันดับแรก สินค้ามีความทันสมัยตามกระแสสังคม โดยมีค่าเฉลี่ย 3.83 ท่านพึงพอใจต่อความรวดเร็วในการส่งสินค้า โดยมีค่าเฉลี่ย 3.75 บรรจุภัณฑ์มีฉลากแสดงข้อมูลส่วนประกอบและวิธีการใช้ชัดเจน, ท่านพึงพอใจในการเก็บเงินปลายทาง มีค่าเฉลี่ย 3.74 เท่ากัน ภาพพจน์และชื่อเสียงของตราสินค้า   มีค่าเฉลี่ย 3.71 ท่านรู้สึกพึงพอใจในสินค้าทั้งก่อนและหลังได้รับสินค้า มีค่าเฉลี่ย 3.70 ท่านพึงพอใจต่อความสมบูรณ์ของสินค้า มีค่าเฉลี่ย 3.64

กลุ่มตัวอย่างอีกส่วนมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ได้แก่ ราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับร้านค้าทั่วไป มีค่าเฉลี่ย 3.49 มีส่วนลดราคา มีค่าเฉลี่ย 3.41 ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ย 3.40 ราคาสินค้าคงที่, ร้านค้ามีหน้าร้านเป็นหลักแหล่ง มีค่าเฉลี่ย 3.35 เท่ากัน มีของแจกของแถม          มีค่าเฉลี่ย 3.20

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี   เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากสื่อโซเชียลมีเดียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี   โดยการสำรวจประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด  400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัยคือ แบบสอบถาม  และนำข้อมูล


มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติในการวัดข้อมูลคือ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม  SPSS
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะประชากรของนักเรียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในส่วนของข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า   กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 17  ปี อาศัยอยู่ที่บ้านตนเองมีบริการอินเทอร์เน็ต  พักกับพ่อแม่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  3,500-4,000  บาท
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ในส่วนของข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ในการใช้สื่อโซเซียลมีเดีย 4-5 ปี  มีการใช้สื่อโซเซียลมีเดีย 3-5   ชั่วโมง  ในเวลาที่ตนเองสะดวก ส่วนใหญ่อยู่ตามลำพังขณะใช้บริการสื่อโซเซียลมีเดีย  ส่วนใหญ่ใช้บริการโซเซียลมีเดียชนิด Facebook และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหลังจากใช้สื่อโซเซียลมีเดียคือมีเพื่อนแปลกหน้าเพิ่มมาก ส่วนใหญ่มีลักษณะการใช้สนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ส่วนใหญ่ไม่เคยซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสื่อโซเซียลมีเดียของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตเทศบาลนครอุดรธานี  พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างใช้สื่อโซเซียลมีเดียเพื่อความบันเทิง ใช้สื่อโซเซียลมีเดียเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่สนใจ ใช้สื่อโซเซียลมีเดียเพื่อความบันเทิงและความสนุกสนานเพื่อดูหนังฟังเพลง  ใช้สื่อโซเซียลมีเดียในการติดต่อสื่อสาร และส่วนใหญ่การใช้สื่อโซเชียลมีเดียส่งผลต่อตัวท่านในด้านลบคือทำให้สายตาเสีย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้สื่อโซเซียลมีเดียของนักเรียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี    พบว่า  กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจในการใช้สื่อโซเซียลมีเดียในการสืบค้นข้อมูลด้านการศึกษามากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49  และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.697 อยู่ในเกณฑ์มาก รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างพึงพอใจในการใช้สื่อโซเซียลมีเดียเพื่อความสะดวกสบายในการดูหนังฟังเพลง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47  และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.641 อยู่ในเกณฑ์มาก และมีความพึงพอใจในการใช้สื่อโซเซียลมีเดียในการสืบค้นข้อมูลด้านการค้าขายต่ำที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56  และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.929  อยู่ในเกณฑ์มาก

พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อ วัดป่าภูก้อนอาเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อ วัดป่าภูก้อน อาเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของนักท่องเที่ยวที่มีต่อวัดป่าภูก้อน อาเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสถานที่ท่องเที่ยวของวัดป่าภูก้อน อาเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS
ผลการวิจัย พบว่า
1.ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเป็น หญิง จานวน 224 คน คิดเป็นร้อยละ 56.0 รองลงมาเป็นเพศชายจานวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 44.0 พบว่าส่วนใหญ่ มีช่วงอายุ 21-30 ปี มากที่สุด จานวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 29.3 พบว่าระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มากที่สุด จานวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 พบว่าภูมิลาเนาของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ต่างจังหวัด มากที่สุด จานวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 31.3 พบว่าอาชีพของผู้ตอบแบบสอบถามนักเรียน/นักศึกษา มากที่สุดจานวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 29.0 พบว่ารายได้ของผู้ตอบแบบสอบถาม มากกว่า 10,001 มากที่สุดจานวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 41.3
2. ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังวัดป่าภูก้อน อาเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จานวน 400 คน มีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมา วัดป่าภูก้อน เพื่อ พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อทัศนศึกษามากที่สุด จานวน 121 คน คิดเป็นร้อยละ 30.3 มีโอกาสที่ในการเดินทางมายังวัดป่าภูก้อน ในวันเสาร์-อาทิตย์ มากที่สุด จานวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 พบว่า ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง รถส่วนตัวมากที่สุดจานวน 230 คิดเป็นร้อยละ 57.4 การวางแผนในการมาเที่ยววัดป่าภูก้อน ไป-กลับภายในวันเดียว จานวน 335 คน คิดเป็นร้อยละ 83.8
3. ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อวัดป่าภูก้อน อาเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี จานวน 400 คน อ่านข่าวสารที่เกี่ยวกับวัดป่าภูก้อนมากที่สุด 3-4 ครั้ง/สัปดาห์จานวน 93 คน คิดเป็นร้อยละ 23.3 ใช้เวลาในการอ่านข่าวสารเกี่ยวกับวัดป่าภูก้อน 31-45 นาที มากที่สุด จานวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 22.5 ได้รับข่าวสารวัดป่าภูก้อนในโอกาสใดมากที่สุด ก่อนนอนมากที่สุด จานวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 22.8 พบว่า อ่านข่าวสาร มากที่สุด บ้านเพื่อนหรือญาติ จานวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 25. หลังจากการรับรู้ข่าวสารของวัดป่าภูก้อน แล้วได้เผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อ ต่างๆต่อไปมากที่สุด จานวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ 37.3 การรับรู้ข่าวสารของ วัดป่าภูก้อน จากอินเทอร์เน็ต มากที่สุด จานวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 29.3

พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจต่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016

บทนำ
1.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
กีฬาโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympic Games, ฝรั่งเศส: les Jeuxolympiques, JO) หรือโอลิมปิก (อังกฤษ: Olympics) สมัยใหม่ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศที่สำคัญ ทั้งกีฬาฤดูร้อนและฤดูหนาว โดยมีนักกีฬาหลายพันคนเข้าร่วมการแข่งขันหลายชนิดกีฬา กีฬาโอลิมปิกถูกมองว่าเป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญที่สุดของโลก โดยมีประเทศเข้าร่วมกว่า 200 ประเทศ ปัจจุบัน กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นทุกสองปี ผลัดกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อนกับโอลิมปิกฤดูหนาว หมายความว่า โอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาวจะจัดห่างกันสี่ปี การสร้างสรรค์กีฬาโอลิมปิกได้รับแรงบันดาลใจจากกีฬาโอลิมปิกโบราณ และจัดต่อมาจนถึง โอลิมปิก 2016 (ครั้งที่ 31) เป็นกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ตรงกับปี ค.ศ. 2016 โดยเมืองริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พิธีเปิดจะมีขึ้นใน สนามกีฬามารากานัง นี้เป็นสนามเดียวกับฟุตบอลโลก 2014 รอบสุดท้ายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นนัดที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2016 และพิธีปิด จะมีขึ้นใน 21 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ชนิดกีฬาที่แข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 2016 มีการแข่งขันกีฬาทั้งหมด 28 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 41 ประเภท รวมเหรียญรางวัล 306 เหรียญ
ประเทศไทยส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรก ในการแข่งขันครั้งที่ 15 ณ กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) และได้เข้าร่วมแข่งขันเรื่อยมา ประเทศไทย ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 31 ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ณ เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เข้าร่วมแข่งขันกีฬาทั้งหมด 17 ชนิด ได้แก่ กรีฑา ยิงธนูแบดมินตัน มวยสากลสมัครเล่น จักรยาน  กอล์ฟ ยูโด กีฬาเรือพาย กีฬาเรือใบ กีฬายิงปืน ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส เทควันโด เทนนิส ยกน้ำหนัก                                          สรุปเหรียญโอลิมปิกปี 2016 ไทยอยู่อันดับที่ 35 ระดับเอเชียไทยอยู่อันดับที่ ระดับอาเซียนไทยอยู่อันดับที่ 1 โดยไทยได้ 2 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง รวม 6 เหรียญ เหรียญทองแรกของไทยเป็นผลงานของ  แนนโสภิตา ธนสาร นักยกน้ำหนักหญิงในการแข่งขันยกน้ำหนักหญิงรุ่น 48 กิโลกรัม ตามมาด้วยผลงานของ ดุ่ย สินธุ์เพชร กรวยทอง นักยกน้ำหนักชายซึ่งคว้าเหรียญทองแดง ในการแข่งขันยกน้ำหนักชาย รุ่น 56 กิโลกรัมจากนั้นเป็นผลงานของแต้ว พิมศิริศิริแก้ว และ ฝ้าย สุกัญญา ศรีสุราช ซึ่งลงชิงเหรียญพร้อมกันในการแข่งขันยกน้ำหนักหญิงรุ่น 58 กิโลกรัม โดยทั้งคู่ได้ 2 เหรียญทองเป็นของ ฝ้าย สุกัญญา ส่วน แต้ว พิมศิริ ได้เหรียญเงินอีกครั้งหลังจากที่เคยทำผลงานในโอลิมปิก 2012 และอีก 2 นักกีฬาเทควันโดคือ เทนนิส พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ที่เอาชนะคู่แข่งจากเม็กซิโก จนได้เหรียญทองแดงจากการแข่งขันเทควันโดหญิงรุ่น 49 กิโลกรัม มาได้สำเร็จ ต่อด้วยผลงานของ เทม เทวินทร์ หาญปราบ ที่แม้จะแพ้ในการแข่งขันเทควันโดชายรุ่น 58 กิโลกรัม แต่ก็ยังสามารถคว้าเหรียญเงินมาได้ในที่สุด
จากสังคมในปัจจุบันมีช่องทางเปิดรับข้อมูลที่หลากหลายทำให้สะดวกต่อการเปิดรับข่าวสารของประชาชนคนไทยให้ความสนใจการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 โดยเฉพาะประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีมีปริมาณเพิ่มขึ้นทำให้เกิดความต้องการการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประเภทต่างๆ เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อในรูปแบบต่างๆที่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางต่าง ๆ
   สื่อต่าง ๆ เหล่านี้สามารถที่จะนำเสนอเรื่องราวและข่าวสารต่างๆที่เกิดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ให้ประชากรในเขตเทศบาลนครอุดรธานีได้รับทราบข่าวสารต่างๆแต่ยังไม่มีการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ข้อจำกัด และอุปสรรคในการรับชมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ผู้ศึกษาได้มองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงเริ่มทำการสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจต่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เพื่อที่จะได้ทราบปัญหาและอุปสรรคของการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจต่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี นำไปพัฒนาการให้ข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึงแก่ประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานีต่อไป

ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงต้องศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จากปัญหาระดับประเทศรองลงมาคือ ส่วนสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครอุดรธานีจัดว่าเป็นประตูสู่พื้นที่เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจึงเป็นขนวนในการตัดสินใจของผู้ศึกษาว่าการรับรู้ข่าวสารของประชาชนในเขตพื้นที่มีมากน้อยเพียงใด รับรู้จากสื่อประเภทใดประชาชนในระดับใดให้ความสำคัญมากที่สุด ช่วงเวลาใด สิ่งใดที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการเปิดรับข่าวสารการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 

พฤติกรรมการปั่นจักรยานของประชาชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

บทนำ
1.1    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันคนทั่วโลกนิยมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานกันมากขึ้นเนื่องจากส่งผลดีต่อร่างกายทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงแถมยังช่วยลดภาวะโลกร้อนและยังเป็นการประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง แต่ก่อนคนไทยไม่ค่อยนิยมการปั่นจักรยานกันสักเท่าไหร่โดยเฉพาะในชุมชนที่มีการพัฒนาแล้วอาจเป็นเพราะกลัวการถูกมองว่าเฉยกลัวโดนดูถูก และยังกลัวชนผู้คนเป็นอันตรายได้ ยกตัวอย่างเช่นในชุมชนเมือง เพราะว่าเป็นสถานที่ที่มีจำนวนคนที่เยอะเดินสนกันไปมาในที่แออัด แต่ก็มีการปั่นจักรยานบ้างในพื้นที่สวนสาธารณะ อาจจะเป็นการเช่าจักรยานจากสถานประกอบการการให้เช่าจักรยานหรือบางทีก็เป็นจักรยานของตนเองที่นำไปปั่นที่สวนสาธารณะ  แต่ในปัจจุบันนี้การปั่นจักรยานไม่ได้ถูกมองว่าเฉยอีกต่อไปเพราะในหลายประเทศทั่วโลกหันมาใช้จักรยานเป็นจำนวนมากและประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลนี้เช่นกันเพราะกระแสของการรักสุขภาพเป็นที่นิยมในตอนนี้หลายคนเลยเลือกวิธีนี้ทั้งในส่วนของภาครัฐยังให้การสนับสนุนจัดทำโครงการต่างๆขึ้นทั้งในต่างประเทศ โครงการรณรงค์ในประเทศไทย และในจังหวัดอุดรธานี
โครงการจักรยานสาธารณะจากไนค์กี้ (Nike)ของขวัญแด่ชาวโปรแลน PortlandNike ก็ทุ่มเงินกว่า
10 ล้านดอลล่าสหรัฐ เพื่อทำระบบจักรยานสาธารณะให้กับชาวเมืองโปรแลน(Portland)รัฐออริกอน(Oregon)ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำจักรยานสาธารณะให้กับชาวเมือง โดยจะให้งบสนับสนุนถึง 5 ปีด้วยกัน จักรยานสีส้มแจ้ดจักรยาน Bike Town นี้จะเป็นจักรยานแบบสมาร์ทไบร์(Smart Bike)ที่ใช้ระบบ ซึ่งมันสามารถล็อคตัวเองได้ ผู้ใช้สามารถจอดไว้ที่ไหนก็ได้ และคนที่มาใช้ต่อก็สามารถปลดล็อคแล้วนำไปใช้ต่อได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีสถานีจอด ซึ่งเป็นระบบที่เหมาะสำหรับเมืองที่มีระบบให้บริการจักรยานสาธารณะขนาดใหญ่ และกำลังเป็นที่นิยมใช้ในหลายๆ เมืองจะเป็นระบบสาธารณะที่จะสร้างสีสันให้กับเมืองมากขึ้น โครงการนี้มีกำหนดจะเริ่มต้นในเดือน กรกฎาคมนี้ โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีทั้งหมด 1,000 คัน
ความพิเศษตรงที่ ไนค์กี้(Nike )ไม่ได้ทำเพื่อหวังผลในแง่ธุรกิจ แต่เป็นการสร้างประโยชน์เพื่อชุมชนมากกว่า เพราะสำนักงานใหญ่ของ Nike ตั้งอยู่ที่เมืองพอร์ตแลนด์มาเป็นเวลา 40 ปีแล้ว ทางบริษัทเลยคิดอยากจะทำอะไรเพื่อสังคมบ้าง โดย Nike ร่วมมือกับกรมขนส่งของเมืองพอร์ตแลนด์ในการผลิตจักรยานที่มีชื่อว่าไบร์ทาว (BikeTown)ด้วยเป้าหมายที่อยากจะสร้างชุมชุมแห่งการแบ่งปันและความเป็นเมืองจักรยานให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่

โครงการคืนความสุขให้ประชาชนด้วยเส้นทางจักรยานทั่วประเทศไทย ที่ทางรัฐบาลได้จัดทำขึ้นโดย
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งสั่งการให้พัฒนาเส้นทางส่งเสริมการใช้จักรยานให้เหมือนกับเมืองใหญ่ที่พัฒนาแล้วของประเทศต่าง ๆ เพื่อคืนอีกหนึ่งความสุขให้คนไทยกระทรวงคมนาคมในฐานะเจ้าภาพหลักอย่างเป็นทางการอ้าแขนรับผิดชอบดูแลการจัดทำเส้นทางจักรยานได้รวบรวมข้อมูลเส้นทางจักรยานทั่วประเทศพบว่ามีทั้งสิ้น 774 กิโลเมตร กระจายออกไปอยู่ภายใต้การดูแลของ 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงคมนาคม 316 กม. กรุงเทพมหานคร (กทม.) 323 กม. และหน่วยงานส่วนภูมิภาค 134 กม. ถือว่ายังไม่มากแต่หลังจากรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ใช้จักรยานอย่างจริงจังก็มีแผนเพิ่มเส้นทางเป็น 3,016 กม. ภายใน 2 ปีนี้ หรือมากกว่าเดิม 4 เท่าตัวพร้อมทั้งเร่งแนะนำทางจักรยานที่สามารถใช้งานได้แล้วทั่วประเทศให้นักปั่นจักรยาน ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ รับทราบ ออกไปปั่นจักรยานกัน โดยขณะนี้ในส่วนของกระทรวงคมนาคมมีเส้นทางที่น่าสนใจพร้อมให้ออกไปปั่นกันแล้วหลายเส้นทาง
ที่ฮิตติดลมบนอันดับ 1 ต้องยกให้เส้นทางจักรยานในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 สนามบินที่มีทางจักรยานดีที่สุดในโลก ด้วยความร่วมมือระหว่างบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กับธนาคารไทยพาณิชย์ ทุ่มงบประมาณกว่า 329 ล้านบาท ก่อสร้าง และซ่อมบำรุงเส้นทางจักรยานสำหรับออกกำลังกายทั้งเส้นทางสายหลัก สายรองความยาว 24.5 กม. ภายในประกอบด้วยทางลู่ปั่นจักรยานมาตรฐานระดับโลก จุดพัก ป้ายสัญญาณ ห้องน้ำร้านอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนระบบรักษาความปลอดภัยเช่น ระบบกล้องวงจรปิด ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สำหรับให้บริการเวลากลางคืนรวมถึงใช้เทคโนโลยี อาร์เอฟไอดีลงทะเบียนผู้ปั่นจักรยานเพื่อตรวจสอบการผ่านเข้า-ออกด้วยต่อมาคือ เส้นทางจักรยานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยย่านห้วยขวาง กรุงเทพฯ เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนเมืองโดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานได้ไปออกกำลังกายพักผ่อนในบรรยากาศผ่อนคลายระยะทาง 3.7 กม. ซึ่งปัจจุบันความนิยมก็ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ สถิติล่าสุดมีนักปั่นมาใช้บริการมากกว่าวันละ 1,000 คน
นอกจากนี้ยังมี เส้นทางจักรยานกรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ระยะทาง 2 กม. เน้นอำนวยความสะดวกให้ข้าราชการและประชาชน ผู้มาติดต่อราชการและ เส้นทางจักรยานโครงการทางจักรยานในเขตทางพิเศษศรีรัช ถนนงามวงศ์วาน-ถนนแจ้งวัฒนะ ระยะทาง 4.7 กม. ซึ่งเป็นเส้นทางเพื่อแก้ปัญหาจราจรรถติดเปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือน มี.ค. 58 ที่ผ่านมา
ไปดูเส้นทางจักรยานในต่างจังหวัดกันบ้างไฮไลต์อันดับ 1 คือเส้นทางจักรยานถนนเฉลิมบูรพาชลทิต ถนนสายเลียบทะเลระยอง จันทบุรี ตราด ซึ่งถือเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวกลุ่มภาคตะวันออกระยะทาง 88.4 กม. จัดเป็นถนนสายโรแมนติกที่มีความสวยงามที่สุดบริเวณเลียบชายฝั่งทะเลตะวันออกผ่านหาดคุ้งวิมาน อ่าวคุ้งกระเบน หาดแหลมสิงห์ ที่สำคัญเส้นทางจักรยานนี้ได้ถูกบรรจุให้เป็น 1 ใน 10 สถานที่ท่องเที่ยวในฝัน ดรีม เดสทิเนชั่นของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอีกด้วย
ส่วนเส้นทางอื่น ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ เส้นทางจักรยานถนนสายเลี่ยงเมือง บ.ทุ่งเสี้ยว-บ.สันป่าตอง-บ.หางดง จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 13 กม. เส้นทางจักรยานถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก จ.ระยองจ.จันทบุรี จ.ตราด ระยะทางรวม 104 กม. เส้นทางจักรยานถนนเลียบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของอ่าวไทย จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์จ.ชุมพร จ.ระนอง ระยะทางรวม 114 กม. เส้นทางจักรยานถนน นฐ.3054 อ.ลาดบัวหลวง อ.สองพี่น้อง อ.บางเลน จ.นครปฐม ระยะทาง 14.7 กม. และเส้นทางจักรยานถนนชลประทาน (เลียบคลองพระยาบันลือฝั่งใต้) อ.สองพี่น้อง จ.นครปฐม ระยะทาง 9.5 กม
 โครงการจักยานสาธารณะปั่นปั่น นายอิทธิพล ตรีวัฒน์สุวรรณ นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี กล่าวว่า เทศบาลนครอุดรธานีจัดโครงการจักรยานสาธารณะ Udon Bike Share "ปัน กัน ปั่น" รักษาสุขภาพ ลดมลพิษ เป็นการดำเนินชีวิตแบบใหม่ เพื่อสุขภาพที่ดี ได้ออกกำลังกาย และยังช่วยลดมลพิษทางอากาศได้อีกทางหนึ่ง กับการบริการจักรยานสาธารณะระบบอัตโนมัติใจกลางเมืองอุดรธานี โดยสามารถปั่นจักรยานจากสถานีหนึ่งไปคืนสถานีไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกลับมาคืนสถานีเดิม ทำให้เกิดความสะดวกสบาย มีความคล่องตัวมากขึ้นในการเดินทาง มีสถานีทั้งหมด 10 จุดรอบเมืองอุดรธานี ประกอบด้วย สถานีหนองประจักษ์ด้านถนนเทศบาล2 จุด ด้านถนนเพาะนิยม 1 จุด ศาลหลักเมือง โรงพยาบาลอุดรธานี โรงเรียนอุดรพิทยานุกูลเซ็นทรัลพลาซ่า
ยูดีทาวน์ สวนหนองบัวและสนามกีฬาเทศบาลนครอุดรธานี
 การบริการจักรยานสาธารณะระบบอัตโนมัติใจกลางเมืองอุดรธานี โดยสามารถปั่นจักรยานจากสถานีหนึ่งไปคืนสถานีไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกลับมาคืนสถานีเดิม ทำให้เกิดความสะดวกสบาย มีความคล่องตัวมากขึ้นในการเดินทาง สำหรับโครงการจักรยานสาธารณะระบบอัตโนมัติ มีค่าสมัครสมาชิกโครงการจักรยาน 320 บาท/ปี ประกอบด้วย 1.ค่าธรรมเนียมการออกบัตร 120 บาท 2.ค่าสมาชิก รายปี 100 บาท 3.มูลค่าบัตรที่เติมไว้ล่วงหน้าสำหรับใช้บริการ 100 บาท สมาชิกจะได้รับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ เนื่องจากการใช้จักรยานของโครงการ ในวงเงิน 50,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 5,000 บาท/ครั้ง เพียงนำบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมชำระค่าธรรมเนียมและค่าบริการล่วงหน้าตามที่โครงการกำหนด เพียงเท่านี้ ก็จะได้รับบัตรจักรยานแล้วนำมายืมจักรยานได้เลยทันที โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 16 ปีบริบูรณ์ ในวันที่สมัครใช้บริการ  ผู้ที่จะใช้บริการดังกล่าวต้องสมัครสมาชิกโครงการจักรยานสาธารณะเทศบาลนครอุดรธานี ณ จุดรับสมัคร ณ สถานีหนองประจักษ์ด้านถนนเทศบาล หลังจวนผู้ว่า วันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 น.-19.00 น. และวันเสาร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 17.00 น.-19.00
               

จากประเด็นดังกล่าวผู้วิจัยมีความสนใจในด้านการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของนักปั่นจักรยานในจังหวัดอุดรธานีเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ความต้องการ และพฤติกรรมของนักปั่นจักรยาน โดยมุ่งหวังว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและช่วยให้ผู้ที่สนใจที่จะเริ่มปั่นจักรยานนำมาเป็นข้อมูลเพื่อให้ใช้ในการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น อินสตาแกรม (Instagram)

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าบนแอพพลิเคชั่น อินสตาแกรม (Instagram)จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการซื้อของผ่านบนแอพพลิเคชั่น อินสตาแกรม (Instagram)จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ  ส่วนที่ 1 ปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าผ่านแอพพลิเคชั่น อินสตาแกรม (Instagram) ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าทางแอพพลิเคชั่นอินสตาแกรม (Instagram) ส่วนที่ 4 ข้อเสนอแนะ


กล่องข้อความ: ขผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 66.25 และส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15 - 24 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.3 และอยู่ในสถานะโสด คิดเป็นร้อยละ 87.8 และส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 80.3 และมีรายได้ต่อเดือน ต่ำกว่า 5000 บาท คิดเป็นร้อยละ 33.0
ผลการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างพบว่า พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าผ่านทางแอพพลิเคชั่น (Instagram) รู้จัก แอพพลิเคชั่นอินตราแกรม (Instagram) คิดเป็นร้อยละ 97.5 และรู้จักจากเพื่อนคิดร้อยละ 45.3 และช่วงเวลาในการใช้งาน ตามสะดวก คิดเป็นร้อยละ 75.5 และสถานที่ใช้บริการที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 63.8 และกลุ่มตัวที่ตอบแบบสอบถามอย่างส่วนใหญ่เลือกซื้อเสื้อ คิดเป็นร้อยละ 59.3 และ ค่าใช้ค่าใช้จ่ายในการซื้อครั้งละ 100 – 500 บาท/ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 45.0  และจำนวนการซื้อแต่ละครั้ง 1ครั้ง/เดือน คิดเป็นร้อยละ 52.3
ผลการวิจัยของกลุ่มตัวอย่างพบว่าความพึงพอใจในการซื้อสินค้าทางแอพพลิเคชั่น   อินสตาแกรม (Instagram) พบว่าความทันสมัยของแอพพิลิเคชั่น (Application)  มีค่าเฉลี่ย 3.71 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และพบว่าความหลากหลายในการชำระเงิน มีค่าเฉลี่ย 3.65 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และ ความพึงพอใจในระบบ มีค่าเฉลี่ย 3.58 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และการค้นหาที่รวดเร็ว มีค่าเฉลี่ย 3.58 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และการจัดส่งสินค้า มีค่าเฉลี่ย 3.51 ซึ่งอยู่ในระดับมากและการรับประกันสินค้า มีค่าเฉลี่ย 3.44 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับสินค้า มีค่าเฉลี่ย 3.43 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และการป้องกัน และความเป็นส่วนตัว มีค่าเฉลี่ย 3.42 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และข้อมูลของสินค้าที่ครบถ้วน มีค่าเฉลี่ย 3.41 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และความไว้วางใจในการเก็บข้อมูล มีค่าเฉลี่ย 3.40 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภค มีค่าเฉลี่ย 3.38 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และความน่าเชื่อถือ มีค่าเฉลี่ย 3.31 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง และคุณภาพสินค้า มีค่าเฉลี่ย 3.31 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง  และราคาที่ถูกกว่าตลาด มีค่าเฉลี่ย 3.25ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง







วิจัย ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์


ชื่อเรื่อง             :       ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะผู้วิจัย         :       นายธนชิต  พลนาล้อม
                             นายชนกานต์  คุณละ
                             นายพิทวัส  พรหมลัทธิ
                             นางสาวจุทามาศ  บัณฑิต
                             นางสาวนันทวัญ  วังคำแหง
                             นางสาวธนภรณ์  ปัดถาวะโร
ระดับการศึกษา    :       ปริญญาตรีนิเทศศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์
สังกัด               :       สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
ปีการศึกษา         :       2559
อาจารย์ที่ปรึกษา  :       ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด

..............................................................................................................................................................................


บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย และการนำเสนอข้อมูลในตาราง โดยได้ผลวิจัยดังนี้
จากผลการศึกษาพบว่ามีระดับความพึงพอใจต่อรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.30 โดยมีความพึงพอใจต่อสื่อแฟนเพจ Facebook  มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.84 มีระดับความต้องการเลือกรับสารข่าวภายในมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 3.76 มีความต้องการเลือกรับสารต่อสื่อแฟนเพจ Facebook มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.78 มีระดับการใช้ และความพึงพอใจต่อข่าวสารที่ได้รับจากสื่อประชาสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.39 มีการใช้และความพึงพอใจต่อสื่อแฟนเพจ Facebook มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.81 ปัญหาและอุปสรรคของสื่อประชาสัมพันธ์ คือ ข่าวสารไม่ทั่วถึง คิดเป็นร้อยละ 62.5 รองลงมาคือ ข่าวสารล่าช้า คิดเป็นร้อยละ 50.5 สื่อที่ควรได้รับการปรับปรุงคือเสียงตามสาย คิดเป็นร้อยละ 30.0 รองลงมาคือ สื่อแฟนเพจ Facebook คิดเป็นร้อยละ 27.0 และสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความน่าสนใจ คือ สื่อแฟนเพจ Facebook คิดเป็นร้อยละ 61.0 รองลงมาคือ สื่อเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ 41.5